WELCOME TO

PSI MARKETING

PSI Marketing PSI Marketing

เทคนิคปรับอาร์ตเวิร์คสำหรับผู้ใช้เครื่อง DTG

อาร์ตเวิร์คแย่ๆจะทำให้งานพิมพ์ออกมาแย่ตามไปด้วย แต่ลูกค้าไม่สนใจหรอก แค่จะไม่กลับมาอีกเท่านั้น 

การเติมเอฟเฟ็คอย่าง Gradients หรือ Textures บนพื้นที่สีพื้น จะช่วยสร้างโทนสีที่ต่อเนื่องได้ และยังช่วยซ่อน Banding(แบนดิ้งแถบลายแนวขวางที่บางที่หัวพิมพ์ตัน) ได้หากมีปัญหาเกิดขึ้น 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การพิมพ์ DTG ได้ก้าวเข้ามาเป็นวิธีการพิมพ์เสื้อผ้าที่เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว ด้วยข้อได้เปรียบอย่างเช่น สามารถพิมพ์ได้ทุกสี, สามารถพิมพ์หมึกขาวบนเสื้อสีเข้ม, และสามารถพิมพ์จำนวนน้อยในต้นทุนที่สมเหตุสมผล ด้วยข้อได้เปรียบเหล่านี้มันจึงเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ นอกจากนี้ยังทำให้คุณพิมพ์ลายไม่ว่าจะเป็นรูปถ่ายหรือลายรูปวาด และจัดวางลายได้อย่างอิสระอีกด้วย 

แต่ถึงแม้จะมีข้อได้เปรียบหลากหลายเช่นนี้ คุณก็ยังจำเป็นต้องสร้างอาร์ตเวิร์คที่ถูกเซตมาให้งานพิมพ์ออกมาดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้อยู่ดี อาร์ตเวิร์คแย่ๆจะทำให้ได้งานพิมพ์แย่ๆ และนั่นจะไม่ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำอีก 

ในขณะที่หลายๆคนในอุตสาหกรรมนี้อาจจะคุ้นเคยและเฉยๆกับอาร์ตเวิร์คที่เป็นเวคเตอร์ (งานที่เราทำบน Adobe Illustrator – ผู้แปล) แต่กลับเป็นงานราสเตอร์ (งานที่เราทำบน Adobe Photoshop ซะส่วนมาก – ผู้แปล) จะทำให้คุณเก็บเกี่ยวประโยชน์จากความสามารถในการพิมพ์ได้ทุกสีของเครื่อง DTG ได้มากกว่า งานราสเตอร์เกิดจากจุดสีแต่ละจุดที่ไล่โทนกันกันขึ้นมา ในขณะที่งานเวคเตอร์ ซึ่งเกิดขึ้นจากเส้นกรอบ มีข้อดีที่คุณสามารถจะขยายเท่าใดก็ได้โดยไม่ต้องเสียคุณภาพของอาร์ตเวิร์คไป

ด้วยเหตุผลนี้เอง อาร์ตเวิร์คแบบราสเตอร์จึงไม่ควรถูกขยายขนาดโดยไม่ขยายคุณภาพตาม ฉะนั้นในการสร้างภาพราสเตอร์ คุณจึงต้องควรตั้งขนาดและความละเอียดอย่างเหมาะสมตั้งแต่แรก 

โดยทั่วไปแล้ว คุณต้องการตั้งขนาดให้เท่ากับที่ต้องการจะพิมพ์จริงเลย หรือถ้าหากรูปเดียวกันจะพิมพ์ทั้งใหญ่ทั้งเล็ก ก็ควรเซ็ตรูปเป็นสำหรับขนาดใหญ่แล้วค่อยลดขนาดรูปภายหลัง ผมแนะนำขนาดใหญ่สุดควรจะประมาณ 12×15 นิ้วสำหรับภาพขนาดใหญ่ สำหรับรายละเอียด 300 ppi เป็นความละเอียดที่แนะนำในการพิมพ์ภาพที่คม และสะอาด

อีกเหตุผลที่แนะนำให้ใช้งานในลักษณะราสเตอร์ คืองานเวคเตอร์นั้นมักจะประกอบด้วยพื้นที่กว้างๆที่เป็นสีพื้น สิ่งนี้ไม่แนะนำเนื่องจากปัญหาที่เรียกว่า แบนดิ้ง แบนดิ้งเป็นเส้นหรือรอย ที่เกิดเมื่อหัวฉีดเล็กๆของหัวพิมพ์เกิดการตัน การพิมพ์ดิจิตอลนั้นเกิดจากการพิมพ์หมึกหลายๆสีที่ถูกยิงผ่านรูฉีดเล็กๆบนหัวพิมพ์ ถ้าหากหมึกไม่ออก หรือเกิดฉีดออกมาไม่ตรง ก็จะเกิดเส้นที่ตามแนวขวางที่ไม่มีหมึกออกมา ด้วยอาร์ตเวิร์คแบบราสเตอร์คุณจะไม่มีบริเวณที่เป็นสีพื้นขนาดใหญ่ ยกตัวอย่างรูปถ่ายที่จะมีหลายสีกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ถ้าหากหัวฉีดของสีใดสีหนึ่งเกิดตัน สีอื่นที่พิมพ์อยู่ก็จะมาพิมพ์ทับและพรางทำให้มองเห็นเส้นนั้นไม่ชัด การตั้งใจปรับใส่เอฟเฟ็คแบบ Gradients หรือ Textureลงบนพื้นที่ๆเป็นสีพื้น จะช่วยสร้างโทนสีที่ต่อเนื่องและพรางหากมีแบนดิ้งเกิดขึ้น (รูป ข้างต้นทั้งสอง)

เมื่อคุณมีเครื่องพิมพ์ที่สามารถสร้างสีได้ครบอยู่กับคุณ คุณต้องสามารถนำข้อได้เปรียบนั้นมาใช้โดยสร้างอาร์ตเวิร์คที่จะทำให้คุณใช้ประโยชน์จากเครื่องพิมพ์ได้สูงสุด แน่นอนว่างานเวคเตอร์คุณก็พิมพ์ได้ และพิมพ์ได้หลายสีด้วย หรือแม้แต่พิมพ์ไล่โทนสี แต่การใช้รูปถ่ายหรือเทคนิคเอฟเฟคจะทำให้คุณนำเสนองานให้ลูกค้าได้หลากหลายขึ้น และทำให้คุณแตกต่างจากคู่แข่งได้อย่างดีอีกด้วย 

Dane Clement 

เดน คลีเมนท์ เป็นประธานบริษัท เกรทเดน กราฟิค บริษัทที่เชี่ยวชาญการทำอาร์ตเวิร์ค สำหรับใช้งานในงานสกรีน, งานปัก และงานดิจิตอล คลีเมนท์อยู่ในอุตสาหกรรมออกแบบอาร์ตเวิร์คมากกว่า 20 ปี สามารถติดต่อได้ที่dane@greatdanegraphics.com หรือเยี่ยมชมwww.greatdanegraphics.com.