Computer To Screen (CTS) ระยะแรกถูกพัฒนาโดยใช้หัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตที่ใช้งานสำหรับพิมพ์กระดาษ โดยเทคโนโลยีในยุคแรกๆนั้นแบ่งแยกรูปแบบได้สองประเภทการยิงลายด้วยแว็กซ์(ขี้ผึ้งร้อน) และ การยิงลายด้วยหมึกพิมพ์ ซึ่งอาจเป็นประสบการณ์แรกๆของอุตสาหกรรมสกรีนในเทคโนโลยี CTS
การยิงแว็กซ์ หรือขี้ผึ้งร้อน
ซึ่งเป็นการหยดขึ้นผึ้งลงบนกาวอัดโดยมีข้อเด่นคือหัวพิมพ์มีการอุดตันได้ยากกว่า เพราะหมึกจะอ่อนตัวเมื่อได้รับความร้อน และหยดลงบนบล็อคสกรีนตามคำสั่งดิจิตอลที่มีมายังหัวพิมพ์
แต่มีข้อด้อยคือ ไม่สามารถใช้ในเครื่องที่มีการพิมพ์แนวตั้งได้ เพราะก่อนที่ขี้ผึ้งจะแข็งตัวจะย้อยและเปลี่ยนรูปคล้ายหยดน้ำ นอกจากนั้นเมื่อเทคโนโลยีหัวพิมพ์อิงค์เจ็ตมีการพัฒนาได้ความละเอียดมากขึ้น ขี้ผึ้งร้อนยังไม่สามารถนำไปใช้งานให้ได้ความละเอียดเพิ่มมากขึ้นได้
ในยุคถัดมาจึงมีการใช้หมึกพิมพ์ที่มีความละเอียดหัวพิมพ์มากกว่าเดิม และแก้ไขข้อด้อยบางประการของการพิมพ์แว็กซ์
การยิงหมึกพิมพ์ในระยะแรก
ซึ่งแทบจะตรงไปตรงมาจากการใช้งานเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตธรรมดา เพียงแต่การหยดหมึกเพื่อให้ได้ความเข้มนั้น ต้องใช้แรงดันที่สูงกว่าเพื่อให้ได้หยดหมึกที่มากกว่า และหัวพิมพ์ยังต้องหยดหมึกซ้ำลงตำแหน่งเดิมหลายครั้ง เพื่อให้ได้ความเข้มพอที่จะบังแสงได้
ในขณะเดียวกันกับการแก้ข้อด้อยของแว็กซ์ การพิมพ์ด้วยหมึกก็กลับมีข้อด้อยบางประการเกิดขึ้น คือมีการเพิ่มความเค้นและความล้าให้กับหัวพิมพ์ที่ไม่ได้ถูกผลิตมาเฉพาะเพื่อให้ใช้ในงานอุตสาหกรรม หัวพิมพ์จึงแตกหักง่าย และต้องเปลี่ยนบ่อย พร้อมกันนั้น ด้วยสภาวะร้อนชื้นในโรงงานหัวพิมพ์จึงมีการอุตตันได้ง่าย เป็นปัญหาการเปลี่ยนอะไหล่ที่มีราคาแพง
การพิมพ์หมึกด้วยหัวพิมพ์อุตสาหกรรม
หลังการเติบโตที่ช้าลงในตลาดการพิมพ์กระดาษ และมีการเข้ามาทำธุรกิจผลิตหัวพิมพ์หลายรายมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตหัวพิมพ์เริ่มสนใจตลาดอื่นที่อยู่นอกเหนือจากอุตสาหกรรมเดิม จึงได้มีการพัฒนาหัวพิมพ์อิงค์เจ็ตที่เหมาะสมมากกว่ากับงานอุตสาหกรรม อายุการใช้งานยาวนานมากขึ้น แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ข้อเสียบางข้อของเครื่อง Inkjet CTS ลดลง
จนถึงจุดนี้ CTS ยังมีข้อด้อยหลายประการที่ยังไม่ได้แก้ปัญหาเดิมจากการใช้ฟิล์มให้กับช่างบล็อคสกรีนเท่าไหร ไม่ว่าจะเป็น
- กระบวนการยังต่อมีการนำไปฉายแสง UV ภายหลังการพิมพ์ลาย
- หัวพิมพ์ที่มีอายุยาวนานขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังไม่สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ใช้ทำงานบล็อคสกรีนได้
- หัวพิมพ์ที่เริ่มอุดตันมีการเกินแถบ หรือ Banding ทำให้ลายพิมพ์เกิดตาเสื่อ หรือ Moire ได้
จุดกำเนิดของการถ่ายบล็อคสกรีนด้วยเลเซอร์
ความคิดที่จะใช้แสง UV ฉายโดยตรงในระบบดิจิตอลเพื่อสร้างลายพิมพ์ ซึ่งตรงกันข้ามกับระบบอิงค์เจ็ตที่หมึกจะสร้าง “ภาพ” ที่ต้องการพิมพ์เพื่อบังแสงจากหลอด UV แล้วนำไปล้างออก LTS จะเป็นการฉาย UV ด้วยระบบดิจิตอล สร้าง “พื้นหลัง” บนบล็อคสกรีน และเว้นลายไว้สำหรับล้างกาวอัดออก แต่ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจกับแสง
เลเซอร์นั้นถูกสร้างจากไดโอด ซึ่งไดโอดยุคแรกๆนั้นสร้างได้แต่เลเซอร์แต่ย่านความยาวคลื่นอินฟราเรด และค่อนมาทางสีแดง จึงให้ความร้อนมากแต่ไม่ค่อยให้ อุลตร้าไวโอเล็ตอย่างที่กาวอัดต้องการ จึงใช้พลังงานมาก สร้างความร้อนเยอะ และ ให้ผลงานได้ไม่ค่อยดี
ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี Blu-Ray ทำให้เกิดไดโอดที่สามารถสร้างแสงอุลตร้าไวโอเล็ต และค่อนไปทางสีม่วงและสีฟ้า ทำให้พลังงานที่เราจ่ายให้ไดโอด สร้างเป็นแสงที่กาวอัดต้องการและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง
ด้วยราคาของหัวพิมพ์ Blu-Ray เลเซอร์ที่ถูกลง อายุการใช้งานยาวนานกว่าการใช้งานอิงเจ็ค ทำให้เครื่อง Blu-Ray LTS สามารถจำหน่ายได้ในราคาใกล้เคียงกับเครื่อง Inkjet CTS สำหรับอุตสาหกรรม ในรายละเอียดที่สูงกว่า บำรุงรักษาง่ายกว่า และความทนทานที่สูงกว่า
Blu-Ray
บลูเรย์ หรือ Blu-Ray เลเซอร์ถูกพัฒนาโดยบริษัท Sony Corporation ด้วยความร่วมมือกับ Nichia Corporation ในสร้างหัวอ่านแผ่นข้อมูลที่มีประสิทธิสูง ราคาประหยัด และสร้างความร้อนน้อย เพื่อให้สามารถบรรจุอยู่ในเครื่องเล่นแผ่นข้อมูลขนาดเล็กได้ และเป็นต้นกำเนิดของแผ่น Blu-Ray Disc ที่เราได้รับชมภาพยนต์คุณภาพสูงกันอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แสงที่ผลิตจาก Blu-Ray เลเซอร์มีความยาวคลื่นที่ 405 นาโนเมตรมีสีน้ำเงินถึงม่วง จึงให้ความยาวคลื่นในช่วง UV ได้ดี การใช้ Blu-Ray เลเซอร์มาทำเครื่อง LTS จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ติดค้างมานานของการพัฒนาเครื่อง CTS
บลูเรย์ เลเซอร์-ทู-สกรีน Blu-Ray LTS แก้ปัญหา และ ให้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
[ประโยชน์จากการใช้ Blue-Ray LTS] (https://psi.marketing/artist/benefit-from-lts)
แต่หากคุณเข้าใจ ฺบลูเรย์ เลเซอร์-ทู-สกรีน Blu-Ray LTS อยู่แล้ว และอยากเห็นข้อมูลทางเทคนิคของเครื่อง เชิญทางนี้
[คุณสมบัติเครื่องยิงบล็อคสกรีน Blu-Ray LTS](https://psi.marketing/artist/lts-laser-to-screen/lts-properties)