WELCOME TO

PSI MARKETING

PSI Marketing PSI Marketing

ทุกวันนี้เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า การมีเครื่อง DTG ในโรงพิมพ์เป็นประโยชน์ในการรับงานจริงๆ โดยเฉพาะการพยายามเป็น วันสต๊อปเซอร์วิส ให้กับลูกค้า เพราะไม่ว่าอาร์ตเวิร์คจะมาในจำนวนสีมากๆ, มีรายละเอียดเยอะๆ, การไล่สีแบบซับซ้อน และต้องการจำนวนน้อยๆ ในระยะเวลาสั้นๆ เราก็ไม่จำเป็นต้องปฏิเสธลูกค้าเหล่านี้ไป ทั้งยังออเดอร์ออนไลน์สมัยนี้ ก็มักจะมาแบบนั้นซะด้วย 

หลายคนได้เริ่มสัมผัสเครื่อง DTG ที่พิมพ์ได้กว้างกว่า 20 นิ้วด้วยตนเองกันไปบ้างแล้ว คงเริ่มมีคำถามแล้วว่า อนาคตของเทคโนโลยี หรือ เครื่องพิมพ์ DTG นั้นจะไปทางไหน เพราะ ถึงแม้ว่าจะได้พื้นที่พิมพ์มากขึ้นกว่าเดิม และดูเหมือนจะทำงานเร็วขึ้นกว่าเดิมด้วย แต่ลูกค้านั้นจะยอมจ่ายค่าหมึกที่เพิ่มขึ้นตามลายที่ใหญ่ขึ้นหรือไม่ หรือเสื้อ 1 ตัวที่ลายพิมพ์กว้างขึ้น ลูกค้าจะยอมจ่ายค่าเสื้อสูงขึ้นไปอีกหรือไม่ยังเป็นคำถามที่สำคัญ

อนาคตอาจไม่มีใครบอกได้แน่นอนได้ แต่ถ้าเราได้ทราบความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านนี้ เราคงพอเห็นภาพลางๆได้ว่า หนึ่งในทิศทางที่เป็นไปได้นั้นจะไปทางไหนได้บบ้าง 

มิเชล ม็อกซ์ลี่ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรม ของ M&R Companies ใน Roselle, Illinois, USA ได้ให้ความเห็นไว้ว่า

“เทคโนโลยี DTG ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก เราได้เห็นเครื่องรุ่นใหม่ๆออกมาในท้องตลาด ที่ทั้งเสถียรมากขึ้น และสามารถควบคุมอาร์ตเวิร์ค และเฉดสีได้ดีมากขึ้นกว่าเมื่่อก่อนมาก ทั้งยังสามารถพิมพ์บนวัสดุได้อย่างหลากหลาย” 

เราโฟกัสในการสร้างเครื่องพิมพ์ที่ ทำงานได้เร็ว, กระบวนการทำงานลื่นไหลได้ดี และได้ผลลัพธ์ที่ใช้คนลดลง  ทำยังไงให้ผู้ใช้งานอัพโหลดอาร์ตเวิร์คเข้าเครื่องแล้ว งานพิมพ์จะออกมาดูสวยงาม เรากำลังพัฒนาเพื่อให้เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น และการควบคุมเฉดสีได้ดียิ่งขึ้น  และกำลังค้นคว้าระบบโปรแกรมจัดการสีทั้งสำหรับ ดิจิตอลไฮบริด และ DTG.

ด้วยความสามารถใหม่อันนี้ คุณสามารถควบคุมให้งานเดียวกันที่อาจจะพิมพ์จากเครื่อง DTG หรือ เครื่องพิมพ์ไฮบริด แล้วได้สีออกมาเหมือนกันได้ 

ในอดีต ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ DTG จะไม่ได้ให้อิสระการควบคุมเฉดสีกับผู้ใช้งาน การตั้งค่าต่างๆถูกปรับมาเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าใช้งานได้ง่าย นี่ทำให้ผู้ใช้งานส่วนหนึ่งรู้สึกหงุดหงิด เพราะไม่สามารถปรับให้ได้ผลงานตามต้องการได้ เครื่อง DTG ในรุ่นใหม่ๆได้เปลี่ยนไปให้ผู้ใช้สามารถปรับผลลัพธ์ได้ตามใจอยากมากขึ้น 

“เป้าหมายของการพัฒนาคือการเชื่อมโยงระหว่างเครื่องพิมพ์ที่ทำงานแบบอัตโนมัติมากที่สุด แต่ให้อิสระศิลปินที่อยากควบคุมสีด้วยตนเองได้มากที่สุดด้วย”

จะเห็นได้ว่าการพัฒนาของเครื่องพิมพ์ DTG และ ดิจิตอลไฮบริด อาจเดินตามแนวทางของเครื่องพิมพ์กราฟฟิค หรือ ดายซับลิเมชั่น ที่มีเครื่องรุ่นพื้นฐานแบบตั้งค่าได้ไม่ละเอียดออกมาก่อน  จนพัฒนาถึงระดับแอดวานซ์ที่สามารถสร้างโปรไฟล์สีเฉพาะตามยี่ห้อและรุ่นเสื้อเปล่าต่างๆ เพื่อให้ได้ค่าสีที่ดีที่สุด อย่าลืมว่าขอบเขตของสีที่ CMYK ทำได้นั้นจำกัดซึ่งมีความยากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การสามารถตั้งค่าสีได้ จะทำให้เราพิมพ์งานจากเครื่องเดียวกันกับคู่แข่ง ในต้นทุนเดียวกัน แต่สีตรงตามความต้องการของลูกค้าได้ง่ายกว่า

สำหรับคนที่ไม่คุ้นชิ้นกับการตั้งค่าโปรไฟล์ หลักการทำงานง่ายๆคือ

  1. พิมพ์งานเป็นตารางตามแพทเทิร์นที่ระบุไว้
  2. ใช้กล้องวัดค่าสีจากผลงานที่ออกมาในขั้นสุดท้าย  
  3. กล้องจะอ่านค่าแล้วส่งกลับเข้าโปรแกรม RIP. 
  4. โปรแกรมจะปรับจูนค่า(อาจจะต้องทำหลายรอบ)จนสีที่แสดงบนหน้าจอกับสีที่ปรากฎบนชิ้นงานออกมาได้ใกล้เคียงกันที่สุด 
  5. เก็บโปรไฟล์นั้นไว้
  6. ในครั้งถัดๆไป หากใช้เสื้อยี่ห้อเดิม รุ่นเดิม และกระบวนการเหมือนเดิม ก็ไม่จำเป็นต้องปรับสีอีก สามารถได้งานอย่างที่ต้องการได้ทันที