5 เคล็ดลับในการพิมพ์ DTG ให้กริ๊บขึ้นอย่างเห็นๆ

แดน คลีเมนท์ จะมาแนะนำแนวทางที่ควรคำนึงถึงเมื่อต้องสร้างหรือใช้อาร์ตเวิร์คแบบราสเตอร์ ในการ พิมพ์งาน DTG

Figure 1: ควรใช้ภาพที่ไม่ม่พื้นหลังในการเริ่มต้นทำงานเสมอ

      ผู้คนส่วนมากในวงการพิมพ์เสื้อผ้า มันจะเลือกใช้อาร์ตเวิร์คที่เป็นเวคเตอร์ (ลักษณะไฟล์อย่าง อิลลัสเตรเตอร์) ซึ่งกำหนดเป็นรูปร่าง และเติมด้วยสีตายแต่ละสีไป จำนวนสีในอาร์ตเวิร์คก็มักจะไม่มีจำนวนมากอะไรแต่เมื่อมาถึงการพิมพ์ด้วยระบบดิจิตอลอย่าง DTG ซึ่งมีข้อได้เปรียบคือการพิมพ์สีได้มากๆโดยไม่ได้มีต้นทุนเพิ่มเติมอะไร (จะพิมพ์สีเดียว หรือ หลายสีก็ต้นทุนเท่ากัน) ด้วยเหตุนี้อาร์ตเวิร์คแบบราสเตอร์ ที่สามารถทำเฉดสีต่อเนื่อง โทนสีผสม และการเกรดสี ด้วยเม็ดพิกเซล จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่ามาก อาร์ตเวิร์คแบบภาพถ่ายหรือรูปวาด เป็นตัวอย่างที่ดีในกรณีนี้
     เมื่อใช้หรือสร้างอาร์ตเวิร์คแบบราสเตอร์ อะไรเป็นสิ่งที่คุณควรคำนึงถึงเพื่อให้มั่นใจว่างานพิมพ์จะออกมาดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้? และนี่คือ 5 คำแนะนำที่อาจจะช่วยให้คุณเริ่มต้นได้

ข้อที่ 1 : ใช้ขนาดที่เหมาะสม

     ไม่เหมือนอาร์ตเวิร์คแบบเวคตอร์ที่คุณสามารถจะขยายขนาดเท่าไรก็ได้ โดยไม่มีผลกระทบกับ
คุณภาพ อาร์ตเวิร์คแบบราสเตอร์ จะเริ่มเบลอและแตกเป็นเม็ดเมื่อขยายมากเกินไป ด้วยเหตุผลนี้คุณควรตั้งขนาดของอาร์ตเวิร์คให้ตรงกับที่ต้องการจะพิมพ์ตั้งแต่แรกถ้าคุณต้องใช้ดีไซน์เดียวกันบนสินค้าหลายหลายชนิดให้เซ็ตบนขนาดที่ใหญ่ที่สุดก่อน หลังจากนั้น
ค่อยปรับขนาดสำหรับงานที่เล็กลงเพื่อจะได้ไม่มีผลกระทบกับคุณภาพ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องใช้อาร์ตเวิร์คเดียวกันในการพิมพ์เสื้อให้เซ็ตสำหรับด้านหน้าเสื้อผู้ใหญ่ก่อนเสื้อเด็ก และก่อนถุงผ้า

     ทุกครั้งที่ผมเริ่มต้นทำงานชิ้นใหม่ ผมจะเซ็ตขนาดวันที่ 14×14 นิ้วก่อนเสมอ แล้วขยายขนาดของอาร์ตเวิร์คให้พอดี ขนาดประมาณนี้คุณสามารถย่อลงให้เหมาะกับงานขนาดเล็กได้แต่ก็ยังใหญ่พอจะไปใช้ทำงานขนาดใหญ่ใหญ่ เช่น แบนเนอร์ หลังจากนั้นค่อยปรับความยาวเป็น 16 นิ้วเพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น

ข้อที่ 2 : อย่าลืมเรื่องความละเอียด

    ถ้าพูดถึงความละเอียดของงานผมแนะนำ 300 PPI หากความละเอียดสูงขึ้นขนาดไฟล์ก็จะใหญ่ตามไปด้วย คุณสามารถใช้ไฟล์ขนาดใหญ่กว่านี้ก็ได้แต่ 300 ก็เพียงพอที่จะให้ความคมในขณะเดียวกันกับที่ไฟล์งานไม่ใหญ่เกินไป

  ความละเอียดขนาดนี้ บนความกว้างยาวที่กล่าวไว้ข้างต้นรูปภาพจะมีข้อมูลมากพอ ที่จะใช้กับงานขนาดใหญ่ โดยทั่วไปแล้ว ลายพิมพ์เต็มด้านหน้าบนเสื้อยืด สามารถปรับไปใช้กับงานที่ใหญ่กว่าได้อยู่แล้วสำหรับงานพิมพ์หน้ากว้างแล้ว 150 PPI บนขนาดจริง คือที่มักจะแนะนำกันการใช้สเปคอาร์ตเวิร์คที่แนะนำข้างต้น (300 PPI บนขนาด 14×14 นิ้ว) เมื่อต้องปรับความละเอียดเป็น 150 ขนาดจริงจะขยายไปได้เป็น 28 x 28 นิ้ว ที่คุณภาพของงานเท่ากัน ซึ่งเพียงพอกับการที่จะพิมพ์แบนเนอร์

ข้อที่ 3 : เริ่มต้นจากภาพที่ไร้พื้นหลัง

     เมื่อเราเริ่มสร้างอาร์ตเวิร์ค มันสำคัญที่จะสร้างบนภาพที่ไร้พื้นหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิมพ์
DTG หากอาร์ตเวิร์คถูกผนวกกับพื้นหลังที่มีสี เครื่องพิมพ์จะพิมพ์สีพื้นหลังด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่าคุณจะพิมพ์บนเสื้อสีขาวแต่ถ้าหากพื้นหลังเป็นสีขาวด้วยแล้ว เครื่องพิมพ์ก็จะพิมพ์สีขาว กับเสื้อสีดำ หากอาร์ตเวิร์คมีพื้นหลังสีดำเครื่องพิมพ์ก็จะพิมพ์สีดำลงไปบนเสื้อสีดำถึงแม้ว่าจะไม่จำเป็นก็ตาม

      เมื่อเริ่มต้นทำงานไฟล์ใหม่ ให้เลือกออปชั่นที่ไร้พื้นหลัง ตารางหมากรุกสีขาวและเทาจะปรากฏให้
เห็นเพื่อแสดงว่าบริเวณนั้นไม่มีพื้นหลัง คุณสามารถสร้างเลเยอร์แล้วเติมสีเดียวของเสื้อเพื่อให้เห็นภาพว่าเมื่อพิมพ์เสื้อจริงจะปรากฏเป็นอีกอย่าง แค่เพียงว่าเมื่อคุณพร้อมจะพิมพ์ให้เซฟภาพ แบบไม่มีชั้นพื้นหลังต่างหากเมื่อใช้สำหรับสั่งพิมพ์งานมีเทคนิคหลายอย่างที่ใช้ในการลบพื้นหลังออกรวมถึงซอฟต์แวร์ที่ทำงานอัตโนมัติ แต่มันใช้เวลาค่อนข้างมากและอาจมีผลกระทบกับคุณภาพของอาร์ตเวิร์ค ดีที่สุดคือการเริ่มต้นงานใหม่แล้วตั้งค่าเป็นผ้าแบบไร้พื้นหลัง

ข้อที่ 4 : โปรไฟล์สีเป็นเรื่องสำคัญ

      ถึงแม้ว่าเครื่องพิมพ์ดิจิตอลอย่างเช่น DTG จะใช้หมึก 4 สี CMYK ในการพิมพ์จริง ผมก็ยังแนะนำให้ใช้โหมดสี RGB แต่ก็เตรียมผ้าเพราะมันสามารถสร้างเฉดสีได้มากกว่า CMYK เมื่อคุณสั่งพิมพ์มันจะมีข้อมูลสีที่ส่งเข้าไปหาเครื่องพิมพ์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อคุณเริ่มต้นสร้างไฟล์ใหม่ คุณควรตั้งค่าโหมดสีเป็น RGB และโปรไฟล์สีเป็น Adobe RGB(1998) โปรไฟล์นี้ให้สีซึ่งสะอาด สีดำสีเข้ม ซึ่งก็จะทำให้งานพิมพ์ออกมาสวยขึ้นด้วย.

ข้อที่ 5 : ระวังพื้นที่สีตาย

      ปัญหาอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับการพิมพ์ DTG คือเส้นแถบแบนดิ้ง มันคือแถบเส้นที่จะเกิดเมื่อบางส่วนของหัวพิมพ์เริ่มตัน แล้วทำให้หมึกไม่ออกมาจากรูหยดหมึกบางรู แบนดิ้งจะยิ่งชัดเมื่อช่องหมึกที่ใช้พิมพ์มีจำนวนน้อยลง และจะยิ่งเห็นชัดมากขึ้นเมื่อพิมพ์พื้นที่สีตาย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการพิมพ์พื้นที่สีตายที่เป็นสีฟ้า แล้วหัวพิมพ์สี C เริ่มตัน เส้นแบนดิ้งจะเห็นชัดเป็นอย่างมาก

      นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผมไม่แนะนำให้ใช้อาร์ตเวิร์คที่เป็นเวคเตอร์เพราะอาร์ตเวิร์คเวคตอร์มักจะมีพื้นที่ที่เป็นสีตายขนาดใหญ่แล้วมักจะทำให้เสี่ยงกับการเห็นแบนดิ้งได้ง่าย กลับกันอาร์ตเวิร์คแบบราสตอร์เกิดขึ้นจากการผสมใช้ช่องหมึกหลายๆช่อง (คือใช้ทั้ง CYMK) เราสามารถพรางแบนดิ้งได้ หากหัวพิมพ์ หัวเริ่มตันเราสามารถจะพรางโดยใช้อีกหัวหนึ่งในพื้นที่เดียวกันได้ การใช้เท็กซ์เจอร์, เกรดสี หรือ แพทเทิร์นแทนบนพื้นที่สีตาย จะช่วยแบ่งใช้หัวพิมพ์ และพรางแบนดิ้งหากเกิดปัญหาขึ้น

   การตั้งค่าอาจเวิร์คอย่างถูกต้องตั้งแต่แรกจะส่งผลดียาวไปจนถึงงานพิมพ์ที่ออกมา นำข้อแนะนำเหล่านี้ไปใช้แล้วคุณจะสร้างงานที่ลูกค้ามีความสุขและจะกลับมาเป็นลูกค้าของคุณอีก

แดน คลิเมนท์ เป็นประธานของบริษัทเกรตแดน กราฟฟิค และรองประธานด้านศิลปะและสร้างสรรค์ของกรุ๊ปสตาลห์ เขาเป็นที่รู้จักในความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกและเทคนิคการตกแต่งเสื้อผ้าหลากหลายรูปแบบ เขาบรรยายและเขียนบทความให้กับวงการตกแต่งเสื้อผ้าตั้งแต่ปี 1995 ติดตามงานของแดน
ได้ที่ www.greatdanegraphics.com.