WELCOME TO

PSI MARKETING

PSI Marketing PSI Marketing

11 ขั้นตอน ซื้อ GTX มือสอง ดูยังไงไม่ให้พลาด (ตอน 2/2) 

หลังจากรู้จักขั้นตอนที่ 1-5 กันไปแล้ว เรามาต่อที่ขั้นตอนที่ 6 ในการดูเครื่องมือสองกัน 

สภาพสถานีจอดหัวพิมพ์ หรือ เมนเทแนนซ์สเตชั่น

หลักการของสถานีจอดหัวพิมพ์ (เค้าเรียกอย่างนี้กันมั๊ยนะ ???) หรือ เมนเทแนนซ์สเตชั่น คือการรักษาอายุการใช้งานของหัวพิมพ์ อย่างที่เคยกล่าวไปแล้วว่าหัวพิมพ์คืออะไหล่ที่มีมูลค่าแพงที่สุดในเครื่องพิมพ์ และเพื่อไม่ให้หัวพิมพ์ตันเร็ว เราจำเป็นต้องประกบหรือปิดหัวพิมพ์ไว้เมื่อไม่ได้ใช้งานเพื่อไม่ให้หัวพิมพ์แห้ง

(1) นอกจากนั้นในการพิมพ์อาจเกิดละอองของหมึกกระเด็กกลับเข้ามายังหัวพิมพ์ ก่อนที่หัวพิมพ์จะเข้าตำแหน่งประกบ ยังต้องมียางปาดหมึกที่ปาดเอาหมึกที่เลอะหัวพิมพ์ออกก่อน

(2) ทั้งสองส่วนเหล่านี้มีวิธีการในการเปลี่ยนอะไหล่ด้วยตัวเองง่ายๆ ซึ่งถ้าสนใจเราจะเอามาลงในบทความในคราวต่อๆไป
แน่นอนที่เราต้องดูคือมันแห้งไหม มีคราบหมึกแข็งเกาะอยู่มากน้อยขนาดไหน และยางปาดยังอ่อนนุ่มหรือมีการฉีดขาดไปแล้ว

สภาพรางเลื่อนและระบบขับเคลื่อนต่างๆ

เราจำเป็นต้องตรวจสภาพรางเลื่อนทั้งส่วนของแป้น (แนวหน้า-หลัง) และหัวพิมพ์ (แนวซ้าย-ขวา)

ซึ่งส่วนของหัวพิมพ์นั้นมีทั้งส่วนหลัง ที่เป็นรางแบบเหลี่ยมที่ชุดหัวพิมพ์เกาะอยู่ และส่วนหน้าที่เป็นรางแบบกลม
ลองสังเกตุว่ายังมีจารบีอยู่หรือไม่ มีการเกาะของฝุ่นหรือคราบหมึกมากน้อยขนาดไหน ถ้าผลักด้วยมือแล้วไหลลื่นไม่สะดุดหรือไม่

ถังระบายหมึกทิ้ง

หมึกที่ถูกฉีดทิ้งที่สถานีจอดหัวพิมพ์นั้น จะถูกลำเลียงผ่านท่อมาทิ้งยังถังระบายหมึกข้างตัวเครื่อง ลองสำรวจท่อว่ามีการอุดตัน หรือยังสามารถระบายหมึกได้โดยสะดวก
ปลายท่อควรจะลอยอยู่เหนือระดับน้ำเสีย เพื่อให้สามารถระบายหมึกออกจากท่อได้ ไม่อุดตันท่อภายหลัง และเพื่อให้ไม่มีการดูดกลับ และควรนำน้ำเสียทิ้งก่อนที่ระดับจะขึ้นเต็มถัง

เช็คหน้าจอ แป้นแสดงผล และ ปุ่มกดว่ายังใช้งานได้ปกติ

ฝาปิดในส่วนต่างๆของเครื่อง
หากเป็นรอยนิดหน่อยก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรกับการทำงานของเครื่อง แต่หากสังเกตุว่ามีรอยบุบขนาดใหญ่ จะพอเดาได้ว่าเกิดการกระแทกอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้ต้องตรวจสอบในส่วนอื่นๆมากขึ้นว่ายังทำงานได้ปกติหรือไม่

ขาตั้ง

ก็เหมือนกันกับฝาปิดต่างๆ เราแอบดูส่วนนี้เพื่อเป็นจุดสังเกตุว่า ที่ผ่านมามีการกระทบกระเทือนของเครื่องอย่างรุนแรงหรือไม่

ก่อนยก

ไม่ใช่ชอบแล้วจะยกกลับบ้านได้เลย มันยังมีขั้นตอนก่อนยกกลับบ้านที่ควรทำตามดังนี้

  •  เข้าเมนู Maintenance แล้วเลือกรายการ Printer Transportation Preparation ให้เครื่องเตรียมตัวถูกเคลื่อนย้าย 
  • ปิดสวิทช์การทำงานเครื่อง
  • ใช้สายกิ๊บรัดหัวพิมพ์ให้ยึดอยู่กับด้านซ้ายของเครื่อง เพื่อไม่ให้เคลื่อนที่ได้ในระหว่างเคลื่อนย้าย
  • ระบายถังน้ำยาทำความสะอาดหัวพิมพ์ทิ้ง
  • เทน้ำเสียทิ้ง และอุดสายระบายน้ำเสีย เพื่อไม่ให้มีอะไรหยดออกมาได้อีก
  • เอาพลาสติกแร็ปห่อด้านนอกของเครื่องเพื่อรัดแป้นพิมพ์และตลับหมึกไม่ให้เคลื่อนได้ 
  • ยกเครื่องพิมพ์ออกจากขาตั้ง วางบนแท่นพาเลทไม้ เอาเชือกมารัดให้ติดกับพาเลทไม้ให้แน่น

ข้อควรสังเกตุเกี่ยวกับการรับประกัน (ในประเทศสหรัฐอเมริกา)

  • โดยมากแล้ว การรับประกันจะมีผลเฉพาะกับผู้ซื้อมือหนึ่งเท่านั้น ถึงแม้ว่าตัวเครื่องจะเหลือระยะเวลารับประกันก็ตาม ควรเช็คกับตัวแทนสินค้าให้แน่ใจ ก่อนตัดสินใจซื้อ 
  • หากมีการเปลี่ยนอะไหล่ อายุการรับประกันอะไหล่จะเป็นเพียง 90 วัน จากวันที่ซื้อ ควรเช็คกับตัวแทนสินค้าอีกครั้งก่อนการซื้อ

สุดท้ายนี้ หวังว่าท่านจะโชคดีกับการขยายกำลังการพิมพ์ และ เจอเครื่องมือสองในสภาพดีๆ การลงทุนทุกชนิดมีระยะการคืนทุนเป็นตัวกำหนดอยู่ หากสามารถหาเครื่องพิมพ์สภาพดีในราคาถูกได้ ระยะการคืนทุนก็จะสั้นลงมาก ที่เหลือก็เหมือนใช้เครื่องโดยมีค่าใช้จ่ายไม่มาก ที่เคยเผื่อต้นทุนไว้ ก็เป็นกำไรดีๆนี่เอง

หากมีคำถามหรือข้อแนะนำ สามารถติดต่อได้ที่ Line Official Account ของ PSI-Artist ได้ทุกเมื่อ