WELCOME TO

PSI MARKETING

PSI Marketing PSI Marketing

พิมพ์ DTG บนเสื้อฟลีซยังไงให้สีไม่ดร๊อป

ด้วยเครื่องพิมพ์ DTG 

จากเราที่เคยเรียนรู้การพิมพ์ DTG บนผ้าคอตตอน 100% กันมาแล้ว ตอนนี้ถึงเวลาที่จะก้าวหน้าไปอีกขั้นกับการพิมพ์ DTG บนผ้า 50/50 หรือ 50% โพลีเอสเตอร์/50% คอตตอน เราจะมาเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญด้าน DTG อย่าง Luke Ryerkerk เพื่อให้คุณไม่พลาดงานในการคว้าชิ้นถัดไป 

เรามาเริ่มต้นจากคำแนะนำดีๆกันก่อน ณ วันที่ผมเขียนบทความนี้มันยังไม่มีหมึก และ ปรีทรีตเม้นท์ ที่ใช้พิมพ์บนผ้าโพลีเอสเตอร์สีเข้ม 100% ที่พิสูจน์และทดสอบได้ชัดเจน (ในอนาคตอันใกล้นี้อาจมีหมึกและปรีทรีตเมนท์ชัวร์ๆออกมาก) ไม่ใช่ว่ามันทำไม่ได้นะครับ แต่ผลลัพธ์มันยังเอาไปขายปลีกจริงๆจังจังไม่ได้ต่างหาก และเพราะเหตุผลนี้ผมจึงไม่แนะนำให้ใช้เครื่อง DTG ไปพิมพ์ผ้าอะไรที่มีสัดส่วนของโพลีเอสเตอร์มากกว่า 50% (แน่นอนว่าเราคงอยากพิมพ์ TC หรือ TK กันซะตอนนี้เลย แต่วันนี้มาที่ผ้า 50/50 กันก่อน) 

กุญแจสำคัญของการพิมพ์ผ้า 50/50 ให้ได้สำเร็จมาจากปรับส่วนปรีทรีตเมนท์และการอบ การตั้งค่าใดๆสำหรับ RIP หรือเครื่องพิมพ์ไม่ได้มีอะไรพิเศษกว่าการพิมพ์ผ้าคอตตอน 100% 

เฉกเช่นการพิมพ์ DTG ปกติธรรมดาคุณภาพของเสื้อที่นำมาใช้จะเป็นส่วนสำคัญ อย่างไรก็ดี เพราะเรากำลังจะพิมพ์ผ้าที่มีโพลีเอสเตอร์ถึง 50% ในภาพประเภทนี้ งั้นก็จะเป็นการชดเชยข้อด้อยด้านคุณภาพของคอตตอนที่เหลืออีก 50% ไปได้ (เพราะโพลีเอสเตอร์เป็นเส้นใยประดิษฐ์ที่มีความเรียบและสม่ำเสมอมากกว่าเส้นใยธรรมชาติที่มักจะสั้นบ้างยาวบ้างอย่างคอตตอน) หากเราทำตามขั้นตอนที่แนะนำนี้ ก็สามารถจะได้ผลลัพธ์บนผ้าผสมอย่างผ้า คอตตอน-50/โพลี-50 ของ GILDAN และแบรนด์อื่นๆ ออกมาอาจจะดีกว่าคอตตอนด้วยซ้ำ 

ขั้นตอนการพ่นปรีทรีตเม้นท์บนผ้า 50/50 

มีปัญหาผ้าสีระเหิดหรือสีตกหรือไม่ 

  • ลดอุณหภูมิเตารีดเหลือ 165 องศาเซลเซียส (บางครั้งอาจจะต้องต่ำลงถึง 148 องศา เพื่อให้ได้ผลดี) 
  • ลดปริมาณของปรีทรีตลงจากที่เคยพ่นบนผ้าคอตตอน 100% เท่าไหร่ ก็ให้แบ่งเป็นสองส่วน (การแบ่งคือการปรับปริมาณสเปรย์) 
  • พ่นปรีทรีตรอบแรกในจำนวนครึ่ง, รีดให้แห้ง,พ่นอีกครึ่งนึง และรีดให้แห้งอีกครั้ง (แบ่งปรีมาณการพ่นปรีทรีตและรีดออกเป็นสองรอบนั่นเอง แต่ทั้งสองรอบทั่วถึงเหมือนกัน เพียงแต่แฉะเพียงครึ่งหนึ่งของปกติ) 
  • การแบ่งพ่นและรีดเป็นสองรอบนี้ เพื่อจะช่วยลดสีตกและสีระเหิด 
  • ลดระยะเวลาในการรีดลงด้วย เพราะปริมาณปรีทรีตลดลงครึ่งหนึ่ง ก็ควรลดความร้อนที่จะใช้ลงครึ่งหนึ่งด้วย และนี่ก็ช่วยลดสีตกและสีระเหิดได้อีกเช่นกัน 

และกับผ้าฟลีซ 50/50 ล่ะ?? 

  • คุณจำเป็นต้องพ่นปรีทรีตเม้นท์เยอะมากขึ้นอยู่แล้วหากต้องการพิมพ์ผ้าฟลีซ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสีตกและสีระเหิดได้ในบางครั้ง 
  • ใช้การพ่นสองรอบเหมือนกันเพียงแต่ในแต่ละรอบใช้ปริมาณปรีทรีตในการพ่น เท่ากับผ้ายืดคอตตอน 100% ในแต่ละครั้ง 
  • ตั้งความร้อนในการรีดปรีทรีตแต่ละครั้งที่ 165 องศาเซลเซียส (บางครั้งอาจจะต้องต่ำลงถึง 148 องศา หากเกิดสีระเหิด) 
  • หากใช้ตู้อบสายพาน เราสามารถตั้งอุณหภูมิได้ต่ำกว่านี้ได้อีก เพราะตู้อบสายพานใช้ลมและความร้อนในการระเหยน้ำในปรีทรีตออกไป ไม่ได้จำเป็นต้องใช้ความร้อนสูงเท่ากับเครื่องรีดร้อน 

การตั้งค่าการพิมพ์สำหรับผ้า 50/50 

  • ผ้า 50/50 ส่วนใหญ่จะได้งานพิมพ์คล้ายกับผ้าคอตตอน 100% ริงสปัน หากพ่นปรีทรีตมาอย่างดี 
  • คุณอาจจำเป็นต้องลดปริมาณหมึกขาวรองพื้นสักนิดหากพบว่ามันเริ่มก่อตัวเป็นก้อน 

สำหรับผ้าฟลีซ 

  • การลงรองพื้นขาวสองรอบ มักเป็นเรื่องจำเป็นกับการพิมพ์วัสดุที่หนาขึ้น 
  • ให้มั่นใจว่าคุณได้ปรับลดความสูงของแป้นพิมพ์ก่อนที่จะเริ่มพิมพ์ 
  • เทคนิค : ใช้แป้นสำหรับเสื้อเด็กเมื่อคุณต้องการพิมพ์บนเสื้อฮู้ดที่มีกระเป๋าหน้า เพื่อให้สุกช่วงกระเป๋าไม่ให้โดนหัวพิมพ์ 

การตั้งค่าการอบหมึกสำหรับผ้า 50/50 

ประเด็นสำคัญในที่นี้คือการหลีกเลี่ยงการเกิดสีระเหิด  

ที่ขั้นตอนการอบหมึกพิมพ์ขั้นสุดท้ายนี้ล่ะ 

จะเป็นจุดที่คุณจะเห็นปัญหาการเกิดสีระเหิดบนผ้า 50/50 ได้มากที่สุด

การใช้เครื่องรีด 

  • ให้รีดเป็นรอบสั้นๆ หลายรอบ (มากกว่าการรีดรอบเดียวยาวๆ) 
  • ถ้าหากหมึกของคุณต้องการเวลา 30 วินาที(อังให้ร้อน) และ 120 วินาที(รีดให้สุก) ให้แบ่งเวลาเป็นรอบ รอบละ 30-60 วินาที (ให้รวมเวลาแล้วครบตามปริมาณเวลาที่ต้องการ) 
  • หากผ้าชิ้นไหนเสี่ยงที่จะเกิดสีระเหิดมาก ให้แบ่งแต่ละช่วงสั้นๆเข้าไว้ 
    • คุณสามารถลดอุณหภูมิในการรีดลงมาเหลือ 148 องศาได้ หากยังเกิดสีระเหิด 
    • พยายามทดสอบการซักทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนวิธีการพ่นน้ำยาและเปลี่ยนการตั้งค่าในการรีด 

หากใช้ตู้อบสายพาน 

  • ลดอุณหภูมิและลดความเร็วของสายพาน เมื่อเปรียบเทียบกับผ้าคอตตอน 100% เฉพาะเมื่อสังเกตุเห็นการระเหิดของสี 
  • ภาพที่ผ่านตู้อบสายพานจะเผชิญกับความร้อนน้อยกว่าจากการใช้เครื่องรีดร้อนอยู่แล้ว 
  • ไม่ว่าจะเปลี่ยนการตั้งค่าตั้งค่าอย่างไรให้ปรับครั้งละ 10% เสมอ 

สุดท้ายนี้เราหวังว่าคุณจะสามารถใช้งานเครื่องพิมพ์ DTG และผลิตชิ้นงานได้หลากหลายเพิ่มมาขึ้น เพื่อให้ตอบแทนการลงทุนเครื่องได้อย่างเร็วที่สุด หากสนใจเสื้อฟลีซ หรือ ผ้า 50/50 เพื่อนำไปทดลอง สามารถปรึกษา Ezy-T (ezy-t.com)