WELCOME TO

PSI MARKETING

PSI Marketing PSI Marketing

ด้วยปริมาณพิมพ์ที่ได้จำนวนชิ้นเยอะมากกว่าในเวลาที่เท่ากัน เฉดสีที่สวยสด รายละเอียดที่ครบถ้วน รีดได้ทั้งผ้าคอตตอนจนถึงผ้าโพลีเอสเตอร์ ต้นทุนทั้งค่าพิมพ์และค่าเครื่องที่ราคาถูกกว่าเทคนิคการพิมพ์อื่นมาก อาจทำให้เจ้าของเครื่อง DTG หลายคนกำลังชั่งใจอยู่ว่าจะลงทุนเครื่อง DFT/DTF อีกซักตัวดีหรือไม่ แต่ก่อนจะยกธงขาวยอมแพ้ เรามาดูจุดแข็งจุดอ่อนกันว่าเราได้ใช้ประโยชน์ครบแล้วหรือยัง เรายังสามารถสู้ด้วยเครื่องไม้เครื่องมือเดิมแล้วชนะ โดยไม่ต้องใช้ราคาได้อยู่หรือไม่

การต่อสู้แบบเดิมๆ

เชื่อได้ว่าสาเหตุที่หลายคนกำลังคิดจะซื้อเครื่อง DFT/DTF อยู่นั้นเพราะว่าเราเคยแข่งราคากับอีกเจ้าที่ใช้เทคนิคนี้ แล้วไม่ชนะ และเราได้ลองจูงใจลูกค้าดูแล้วถึงผิวสัมผัสของ DTG ที่นุ่มนวลกว่า งานที่ดูติดแน่นคงทนกว่า แต่สิ่งเหล่านี้ก็ดูเหมือนไม่สามารถจูงใจลูกค้าให้ออกมาจากงาน DFT/DTF ที่ราคาถูกกว่ามากได้ การต่อสู้โดยวิธีเดิมๆจึงยากที่จะทำให้ลูกค้าเอนเอียงมาข้างเรา

ขอบคือข้อแตกต่าง

ด้วยความเคยชิน เราอาจไม่เคยสังเกตุว่าอาร์ตเวิร์ค หรือต้นฉบับที่ส่งมาให้เราตีราคานั้น มีขอบแบบไหน ขอบแบบฟุ้งหรือซอฟต์เอจ นั้นเป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับคนทำ DTG, สกรีน หรือ แม้แต่ดายซับลิเมชั่น เพราะเราไม่เคยใช้กาวในการยึดติดระหว่างลายพิมพ์กับผ้า แต่สำหรับ DFT/DTF นั้นจำเป็นต้องใช้ผงกาวในการเชื่อมลายให้ติดกับผ้า

เพราะว่าการพิมพ์ DFT/DTF นั้นให้รายละเอียดขนาดเล็กมาก หยดหมึกที่หยดลงไปขนาดเล็กจึงไม่มีพื้นที่ผิวมากพอให้กาวสามารถยึดติดได้ ดังนั้นเมื่อผ่านการโรยกาว แล้วนำไปรีดลงบนผ้า จุดเล็กๆหรือรายละเอียดเหล่านั้นจึงไม่ติด หรือหลุดร่อนภายหลัง ทั้งยังทิ้งคราบกาวเหลือไว้บนผ้าอีกด้วย เจ้าของเครื่อง DFT/DTF จึงต้องทำการปรับลายจากต้นฉบับทุกครั้งเพื่อให้ทำงานได้

มาทำงานกลับข้างกัน 

มุมมองที่เราอยากนำเสนอคือการ ย้อนรอยหมายถึงดูว่าการปรับอาร์ตเวิร์คแบบใดที่ผู้ที่มี DTF/DFT จะต้องทำเพื่อให้ทำงานลูกค้าได้ แล้วเราก็ทำกลับทางกัน แต่มันต้องเริ่มต้นจากการบริการปรับอาร์ตเวิร์คให้ลูกค้าก่อนการตีราคา ลูกค้าของเราส่วนมากนั้นไม่ได้คุ้นเคยหรือเชี่ยวชาญในการพิมพ์เสื้อมาก่อน เราจะเห็นได้ว่าส่วนมากของอาร์ตเวิร์คที่เราได้รับมา มักจะต้องมีการปรับไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง สิ่งหนึ่งที่โรงงานพิมพ์เสื้ออาจไม่รู้คือ คนที่ทำอาชีพรับพิมพ์บนวัสดุอื่นๆก็ต้องมีงานปรับอาร์ตเวิร์คให้ลูกค้าเช่นกัน 

การใส่พื้นหลังหรือ แบ็คกราวน์ 

การใส่พื้นหลัง นอกเหนือจากการทำให้งานโดยรวมสวยขึ้นแล้ว ยังทำให้ภาพ กระโดดขึ้นมาจากตัวเสื้อได้โดยไม่มีความรู้สึกเป็นเหมือนเอาสติ๊กเกอร์แปะบนเสื้อ สร้างความเชื่อมโยงระหว่างลายด้านหน้าและหลัง พื้นหลังอาจจะเป็นรูปที่คุณเลือกมาได้จากภาพวิว ทะเล เมฆ หมอก หรือ ควันต่างๆ หรือแม้แต่จะแต่งขึ้นมาเองง่ายๆจากการใช้แอร์บรัช 

การใส่ขอบฟุ้ง หรือ เฟดขอบ 

อาจไม่ใช้ทุกครั้งที่คุณสามารถจะแทรกพื้นหลังไปได้ อีกหนึ่งวิธีการคือการเฟดขอบ หรือทำให้ชอบลายบางส่วนฟุ้งออก อาจจะแค่บางส่วน เพื่อทำให้บางส่วนที่เรายังคงไว้โดดเด่นขึ้นมา ลองดูภาพประกอบ จะพบว่าการเฟดขอบที่ฟุ้งจะทำให้ชิ้นงานตัวหลักนั้นดูเด่นขึ้นมาได้อย่างไร 

ปรับเม็ดพิกเซลเล็ต

บนอาร์ตเวิร์คให้เล็กลง

ในบางครั้งอาร์ตเวิร์คของลูกค้าจะมีการใส่เอฟเฟ็คให้งานดูแตกต่างมาจากเริ่มต้นอยู่แล้วด้วยการใส่เม็ดสกรีน ซึงอาจเป็นเม็ดตามขนาดต่างๆ การลองปรับเม็ดพิกเซลเล็ตเหล่านั้นให้เล็กลง เจาะรูมากขึ้น จะช่วยให้งานดูกลืนสวยขึ้น พร้อมกับการดึงจุดเด่นของการพิมพ์ด้วยความละเอียดสูงกว่าอย่าง

หัวใจคือการบริการ 

ในที่สุดแล้วทั้งหมดนี้คือการปรับเพื่อเพิ่ม ทางเลือกให้กับลูกค้า ผู้ประกอบการหลายท่าน ยังเข้าใจว่าการบริการ คือการพูดไฟเพราะ ลดราคาให้เมื่อถูกต่อ หรือเป็นทำงานให้เสร็จเร็วขึ้นเพียงเท่านั้น แต่เราสามารถใช้การบริการในการเพิ่มมูลค่า และสร้างความได้เปรียบให้กับงานของเรา แน่นอนว่าชิ้นอาร์ตเวิร์คหลักเรายังต้องทำตรงตามที่ลูกค้านำมาให้อยู่ แต่การมีชิ้นอื่นๆเพื่อเป็นทางเลือกนั้น จะทำให้ลูกค้าเข้าใจถึงความตั้งใจของเราในการจะบริการ แค่นี้ลูกค้าอาจไม่เอางาน DTG ของเราไปเทียบกับเจ้าอื่นแล้ว ไม่นับว่าจะไปเทียบกับ DTF/DFT การทำให้ลูกค้าเข้ามาหาเราเป็นที่แรกนอกเหนือจะเพิ่มโอกาสในการปิดการขายแล้ว ยังเป็นการลดโอกาสในการเช็คเทียบราคากับรายอื่นๆอีกด้วย จำไว้ว่าบางครั้งลูกค้าก็ไม่รู้จะใช้อะไรเทียบจึงต้องใช้ราคา ถึงแม้ว่าไม่ได้มีงบประมาณจำกัดก็ตาม