
การวิเคราะห์ตัวเลขการค้าเผยความไม่สมดุลย์ในอำนาจเมื่อซัพพลายเออร์และคนงานในส่วนที่ยากจนที่สุดของโลกต้องแบกรับผลลบจากโควิด
Coronavirus – latest updates
See all our coronavirus coverage
Mei-Ling McNamara
เมย์หลิง แมคนามาร่า
@MLMcNamara
07.15 BST 15.24 BST
286
ในบังคลาเทศ แรงงานการ์เม้นท์เกินกว่าล้านคนถูกให้ออกจากงานหรือลอยแพ รายงานยังบอกอีกว่าหลายคนที่ยังมีงานอยู่ก็ไม่ได้รับการจ่ายเงินมาสองเดือนหรือมากกว่า
บริษัทแฟชั่นที่ทรงพลังทั้งในอเมริกาและยุโรปยังปฏิเสธการจ่ายเงินซัพพลายเออร์ต่างประเทศมากกว่า 5 แสนล้านบาทตั้งแต่มีการระบาดของ โควิด-19 ยังผลให้เกิดผลร้ายแรงแก่แรงงานการ์เม้นท์ทั่วโลก จากการวิเคราะข้อมูลที่เพิ่งเปิดเผย
องค์กรสองแห่งคือใช้ฐานข้อมูลที่ไม่ได้เปิดเผยก่อนหน้านี้มาคำนวนให้เห็นว่า โรงงานการ์เม้นท์ และซัพพลายเออร์จากทั่วโลก สูญเสียอย่างน้อย 5 แสนล้านบาทในรายได้ตั้งแต่ เมษายนจนถึงมิถุนายนปีนี้ เมื่อแบรนด์ยกเลิกออเดอร์และปฏิเสธที่จะจ่ายเงินค่าออเดอร์ที่ได้สั่งซื้อไปก่อนหน้าที่จะมีการระบาดของโคโรน่าไวรัส

นี่ทำให้ซัพพลายเออร์ในประเทศอย่างเช่น บังคลาเทศ, กัมพูชา และพม่า มีทางเลือกไม่มากนอกจากที่จะลดขนาดหรือไม่ก็ปิดกิจการ ทิ้งให้แรงงานเป็นล้านๆคนต้องเจอกับชั่วโมงทำงานที่ลดลง และ การไร้งานทำ อ้างอิงจากรายงาน
“ในวิกฤตโควิด-19 ระบบการจ่ายเงินที่บิดเบี้ยวนี้ยอมให้แบรนด์ตะวันตก บรรเทาความลำบากทางการเงินไว้ได้ด้วยการปล้นซัพพลายเออร์จากประเทศกำลังพัฒนา” สก็อต โนว่า ผู้อำนวยการของ WRC และผู้ร่วมทำรายงาน
รายงานยังโต้เถึยงด้วยว่า วิกฤตโรคระบาดยังเปิดเผยถึงความไม่สมดุลย์ของอำนาจการต่อรองที่หัวใจของธุรกิจแฟชั่น ที่บังคับให้ซัพพลายเออร์ในประเทศยากจนที่สุดหลายประเทศ ต้องแบกรับต้นทุนการผลิตล่วงหน้าทั้งหมดในขณะที่ผู้ซื้อไม่ต้องจ่ายอะไรเลยจนกว่าหลายสัปดาห์หรือเดือนต่อมาหลังจากที่โรงงานได้จัดส่งสินค้าแล้ว
นอกจากทิ้งให้ซัพพลายเออร์และแรงงานพบกับหายนะแล้ว ผู้ค้าปลีกบางรายยังมีการจ่ายเงินปันผลเป็นหลักล้านให้กับผู้ถือหุ้น ในเดือนมีนาคม โคห์ล, หนึ่งในผู้ค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา, จ่ายเงินกว่า 3 พันล้านเป็นปันผล แค่ไม่กี่สัปดาห์หลังจากยกเลิกออเดอร์ใหญ่ๆจากบังคลาเทศ เกาหลี และอีกหลายประเทศ
(ออเดอร์ที่ยกเลิกถูกกองไว้ในห้องเก็บของในบังคลาเทศ)
ในจดหมายเปิดผนึกในเดือนเมษายน สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าแห่งกัมพูชา ได้ร้องขอแก่ผู้ซื้อทั้งหลาย ให้รักษาสัญญาที่จะปกป้องคนงานกว่า 750,000 คน ที่พึ่งพิงอยู่กับอุตสาหกรรมเสื้อผ้า
“ทุกภาคส่วนในห่วงโซ่การผลิตเสื้อผ้าของโลก ได้รู้สึกถึงภาระที่เกิดขึ้นจาก COVID-19” จดหมายได้กล่าวไว้ “อย่างไรก็ดี ผู้ผลิต (โรงงาน) ทำธุรกิจบนส่วนต่างที่บางมากและมีความสามารถอันน้อยนิดที่จะแบกรับภาระเมื่อเปรียบเทียบกับลูกค้า (ผู้ซื้อ) ภาระที่ตกทอดไปสู่แรงงานผู้ซึ่งหาเช้ากินค่ำเป็นภาระที่ยิ่งใหญ่และมหาศาลมาก”
ในบังคลาเทศ แรงงานการ์เม้นท์มากกว่าล้านคนถูกไล่ออก หรือลอยแพ ซึ่งเป็นผลจากการยกเลิกออเดอร์ และ การปฏิเสธการจ่ายเงินของผู้ซื้อ จากรายงานของ CGWR ถึงแม้ว่ามีแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 16,000 ล้านบาทออกมายังโรงงานต่างๆ เพื่อช่วยบรรเทาการจ้างงาน ก็ยังมีแรงงานชาวบังคลาเทศที่ไม่ได้รับค่าจ้างมา 2 เดือนหรือยาวนานกว่านั้น
ศาสตราจารย์ มาร์ค แอนเนอร์ ผู้อำนวยการที่ CGWR และผู้เขียนหลักของผลการศึกษานี้ ยอมรับว่าบริษัทเสื้อผ้าได้รับผลกระทบด้านการเงินอันเนื่องจากวิกฤตโควิด 19 นี้ แต่ก็กล่าวว่า บริษัทเหล่านั้นก็ยังจำเป็นต้องรับผิดชอบด้านการเงินอยู่ดี
“ในขณะที่ตำแหน่งความได้เปรียบที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อุปทานได้เอื้อให้พวกเขามีอำนาจในการเลี่ยการจ่าย สิ่งที่เขาติดหนี้ซัพพลายเออร์ในช่วงวิกฤต พวกเขาก็ยังมีความจำเป็นด้านศีลธรรมในการปกป้องผู้ที่อ่อนแอน และนั่นเริ่มจากการปกป้องความเป็นอยู่ของคนงานที่อยู่ล่างสุดของห่วงโซ่อุปทาน”
ในความพยายามที่จะให้แบรนด์และผุ้ค้าปลีกแสดงความรับผิดชอบ WRC และ CGWR ได้เปิดตัว โควิด-19 แทรคเกอร์ ในเดือนเมษายน เพื่อตรวจดูว่าบริษัทใด กำลังพยายามทำตามข้อผูกพันตามสัญญา อาร์เคเดียว เจ้าของ ท็อปช็อป, วอลมาร์ต, เออบัน เอาท์ฟิตเตอร์ และ มาเธอร์แคร์ อยู่ในรายชื่อบริษัทที่ไม่ให้สัญญาว่าจะจ่ายเต็มจำนวนแก่ออเดอร์ที่ผลิตเสร็จหรืออยู่ในระหว่างการผลิต
บทความนี้ถูกปรับปรุงในวันที่ 9 ตุลาคม 2563 เพื่อสะท้อนรายละเอียดให้ดีขึ้น ในส่วนของบริษัทที่ตกลงจะจ่ายเงินตามสัญญากับซัพพลายเออร์