เมื่อวานนี้เพิ่งได้ยินเรื่องแปลกๆของโรงพิมพ์นึง ที่มีเครื่องพิมพ์แต่กำลังถูก"ทำให้เชื่อ"ว่าไฮเดน ต้องใช้มือพิมพ์เท่านั้น เลยนึกถึงคำว่า "กับดักน้ำผึ้ง" ขึ้นมา น้ำผึ้งเป็นสิ่งหอมหวาน แต่โศกนาฏกรรมก็เกิดแต่ความหอมหวาน เราจึงเคยได้ยินคำว่าน้ำผึ้งหยดเดียว อยู่เป็นประจำ
ไฮเดนไม่ได้เป็นเทคนิคใหม่ ดูจากในภาพก็คงเห็นว่าที่หนาๆแบบนี้อย่างน้อยก็ถ่ายรูปมา 9 ปีแล้ว แล้วที่ผ่านมาไฮเดนหายไปไหน? คำตอบคือหายไปตอนที่คนนิยม ผ้าฟอก งานดิสชาร์จ หรือ วินเทจ เพราะมันไม่"เบา" แล้วถ้างั้นมันเป็น "กับดัก" เพราะอะไร
1) มันหนาและหนัก ไม่มีใครใส่ไหว
2) มันซักไม่ทน เพราะความนูนทำให้โดนขูดขีดเยอะกว่าลายธรรมดา
3) มันหลุดและสีตกง่าย เพราะไฮเดนต้องอบความร้อนนานกว่าปกติมาก (ไม่ค่อยเห็นไฮเดนพิมพ์บนผ้าขาวใช่ไหมล่ะ)
4) มันไม่มีใครจ่าย เพราะจะให้ได้สูงมากๆ ต้องพิมพ์หลายรอบ 15 ถึง 40 รอบก็มี
5) มันเสียงาน เพราะกินกำลังผลิตจากงานอื่นๆ
งานหนาๆทั้งหลายจึงเป็นงานโชว์พาว แต่ "น้ำผึ้ง" ก็คือ "น้ำผึ้ง" ถ้าถึงจำเป็นกับขั้นไว้ใจ "คนสอน" จะทิ้งเครื่องไปขึ้นโต๊ะ ก็ต้องถามว่าได้ยินสิ่งเหล่านี้จากแม่คนเก่งทั้งหลายหรือเปล่า?
1) การเลือกผ้าสกรีนเส้นด้าย S (ไม่ใช่ T ที่ใช้อยู่ทุกวัน)
2) การทำบล็อคหนาด้วยฟิล์ม
3) การตั้งออฟคอนแทค
4) ทำไมต้องใช้ยาง 55/90/55
5) การตั้งอุณหภูมิ
เหล่านี้ฝรั่งเขียนบทความกันให้อ่านมาหลายปี ถ้าอดใจความหอมหวานไม่ไหว ก็ตามแต่ท่านเถ๊อะ